27 ธ.ค. 2554

สถานที่ท่องเที่ยว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

สถานที่ท่องเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ปลายถนนขุนเมืองใจใกล้ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนเพราะตัวพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ริมถนนใหญ่พอดี เหตุที่มีชื่อพิพิธภัณฑ์สแห่งชาติเจ้าพระยานั้น ก็เพราะคราวหนึ่งมีการเปิดกรุที่พระปรางค์วัดราชบูรณะ ได้พบพระพิมพ์เป็นจำนวนมาก จึงนำออกให้ประชาชนเช่าบูชาเงินที่ได้มาทั้งหมดนำมาจักพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้นในเบื้องแรกและวัดราชบูรณะ สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 ซึ้งทรงมีพระนามตั้งแต่ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ว่า เจ้าสามพระยาจึงได้อัญเชิญพระนามนั้นมาเป็นชื่อพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา นับได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในประเทศไทยที่นำระบบการจัดแสดงโบราณวัตถุแบบใหม่ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับกันในอารยประเทศมาใช้ กล่าวคือการจัดแสดงโบราณวัตถุแต่ละชิ้นนั้นมีการจัดสรรพื้นที่ติดตั้งไม่ให้อยู่ชิดกันหรือมีปริมาณของโบราณวัตถุมากจนดูแน่นเกินไป อีกทั้งยังมีการนำแสงสีต่างๆ มาใช้เพื่อเน้นให้การจัดแสดงบางส่วนมีจังหวะและมุมมองที่น่าสนใจขึ้น

สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวของตัวอาคารพิพิธภัณฑ์นั้นแบ่งพื้นที่การจัดแสดงออกเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างส่วนมากเป็นพระพุทธรูปตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ และยังมีโบราณวัตถุชิ้นเอกของโลก เช่นพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทแบบทวารวดีที่เคยประดิษฐานในซุ้มพระสถูปโบราณที่วัดพระเมรุ เมืองนครปฐม ซึ้งกรมศิลปากรได้พยายามติดตามชิ้นส่วนต่างๆขององค์พระที่กระจัดกระจายไปในที่ต่างๆ มาประกอบเป็นองค์พระได้อย่างสมบูรณ์ คงไม่ต้องประมาณว่าพระพุทธรูปองค์นี้จะมีค่าเพียงใด เพราะในโลกมีแบบนี้เพียง 6 องค์เท่านั้น ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องไปชม

สถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้นอกจากนี้ก็มีงานแกะสลักไม้ที่น่าสนใจเช่นหน้าบันนารายณ์ทรงครุฑจากวัดแม่นางปลื้ม และบานประตูมณฑปเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ที่มีรูปเทวดาถือพระขรรค์ อีกทั้งครุฑโขนเรือพระที่นั่งสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ยังมีจัดแสดงให้ชม ล้วนเป็นงานประติมากรรมที่หาดูยากยิ่งเพราะจากที่กรุงศรอยุธยาล่มสลายลงด้วยการถูกเผาทั้งเมือง งานำหลักไม้ดีๆนั้นย่อมปลาสนาการไปแทบทั้งหมด และเมื่อขึ้นถึงชั้นบน ผู้เข้าชมโดยมากไม่ละเลยที่จะเข้าเยี่ยมชมพื้นที่จัดแสดงส่วนที่สำคัญที่สุด นั้นคือ ห้องมหรรฆภัณฑ์ เป็นห้องสำหรับเก็บรวบรวมโบราณวัตถุที่ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ และกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุ


โดยแต่ละกรุแบ่งห้องจัดแสดงเป็นสองห้องโบราณวัตถุเหล่านี้คือ เครื่องราชูปโภค เครื่องประดับศิราภรณ์พิพิธภัณฑ์ พัสตรา ภรณ์ และเครื่องพุทธบูชาที่ล้วนแล้วแต่ประกอบขึ้นด้วยทองคำและอัญมณีอย่างงดงามวิจิตรพิสดารจนยากที่จะระบายได้งานฝีมือที่ทำจากทองคำเหล่านี้มีความเก่าแก่ย้อนไปถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้อน แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญอย่างน่าประหลาดใจของช่างในสมัยนั้น และยังเป็นส่วนหนึ่งของความร่ำรวยอันน่าตื่นตะลึงของกรุงศรีอยุธยาในอดีตซึ่งจะต้องกล่าวไว้ด้วยว่า ของที่จัดแสดงเหล่านี้มิใช่ทั้งหมดที่ได้จากพระปรางค์ที่วัดราชบูรณะเพราะผู้ค้นพบกรุดังกล่าวเป็นครั้งแรกคือโจรลักของเก่า โบราณวัตถุที่มีค่ามหาศาลเหล่านี้เป็นเพียงส่วนที่ยังเหลืออยู่แลตามคืนมาได้เท่านั้น ที่สูญหายไปมีจำนวนนับไม่ถ้วน กล่าวสำหรับบรรดาโบราณวัตถุชิ้นอื่นๆแม้จะไม่มากด้วยปริมาณ แต่ว่ากันในด้านคุณภาพล้วนเป็นของดีหาดูหาชมยากทั้งสิ้น

ปัจจุบัน สถานที่ท่องเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าพระยาเปิดทำการตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 ทุกวันเว้นวันจันทร์-อังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ นักท่องเที่ยวที่ไปถึงพระนครศรีอยุธยา ถ้าไม่ได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถือว่ายังเห็นของดีของอยุธยาไม่ครบ

1 ความคิดเห็น: