26 เม.ย. 2554

บั้งไฟพญานาค แห่งหนองคาย


ความมหัศจรรย์ของแม่น้ำโขงระหว่างจังหวัดหนองคายประเทศไทยกับกำแพงเพชรนครเวียงจันทน์ สปปล. ในวันออกพรรษาทุกปี ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ประชาชนนับแสนคนจะเฝ้าชมลูกไฟมหัศจรรย์ใต้แม่น้ำโขง พุ่งสู่อากาศแล้วหายไปโดยลูกไฟนั้นไม่มีควัน ไม่มีกลิ่น ไม่มีเสียง ทั้งที่ไม่มีโค้งตกลงมามีขนาดต่างๆกันตั้งแต่หัวนิ้วแม่มือถึงฟองไข่ไก่ มีสีชมพูและสีเขียว เริ่มปรากฏตั้งแต่ 18.00-22.00 แล้วแต่ในสถานที่ชม และพระจันทร์ที่จะขึ้นในวันนั้น ชาวแม่น้ำโขงเรียกลูกไฟมหัศจรรย์นี้ว่า “บั้งไฟพญานาค” จนเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ

ปรากฎการณ์ธรรมชาติอันแปลกประหลาดนี้ถูกโยงปรับเข้ากับความเชื่อในคติพุทธศาสนาว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 1พรรษาเพื่อเทศนาโปรด พระนางสิริ มหามายา พุทธมารดาจนดับขันธ์ปรินิพพาน แล้วเสด็จลงสู่โลกในวันออกพรรษา เหล่าเทพนิกกรอมพรหมอินทร์เนรมิตบันไดทองบันไดเงินลงมาด้วยพระพุทธเจ้าทรงพระเมตตาคุณผายพระกรทั้ง 2 ข้างออก เพื่อเปิดมิติโลกทั้งสวรรค์ มนุษย์ และบาดาลให้แลเห็นกันวันนี้ พญานาคเจ้าบาดาลทั้งหลายต่างชื่นชมยินดีในพระกตัญญูกตเวทิตาต่อพุทธมารดาครั้งนี้จึงพ่นลูกไฟจากใต้แม่น้ำโขงขึ้นมาเฉลิมฉลองตั้งแต่วันออกพรรษานั้น

ผู้คนที่มาชมบั้งไฟพญานาคหากเป็นคนอีสานจะมีความเชื่อฝังใจว่าเป็นของพญานาคจริงๆ ส่วนคนภาคอื่นที่มีการศึกษาสูงพยายามพิสูจน์ทางมิติวิทยาศาสตร์ โดยตั้งสมมุติฐานว่าเป็นก๊าซชีวภาพ อันเกิดจากการหมักหมมของอินทรียวัตถุต่างๆตามหล่มแม่น้ำโขง ครั้นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 แนวโคจรของโลก พระอาทิตย์ พระจันทร์ จะอยู่แนวเดียวกันและเกิดแนวเดียวกันและเกิดแรงดึงดูดสูงบริเวณนี้ ทั้งอุณหภูมิสะสมหล่มก้นโขงนั้นร้อนพอที่ก๊าชจะระเบิดตัวเอง และพุ่งสู่พระจันทร์อย่างรวดเร็ว อยากในการจับภาพนิ่ง แต่มิติวิทยาศาสตร์นี้ก็ยังมีข้อขัดแย้งระหว่างนักวิทยาศาสตร์ด้วยกันมากมีจุดร่วมกันเรื่องเดียวคือเป็น ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งยังอธิบายไม่ได้เท่านั้นความมหัศจรรย์นี้ทำให้ผู้คนต่างมุ่งหน้ามาชมโดยตั้งสมมุติฐานต่างๆแต่จนปัจจุบันยังไม่สามารถจับผิดหรือพิสูจน์ได้แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำก้อยังยอมรับว่าไม่สามารถทำบั้งไฟพญานาคเทียมขึ้นมาได้ผลก็คือผู้คนต่างก็ยังคงแห่กันมาเฝ้าชมติดต่อกันทุกปีรถติดยาวยิ่งกว่าขบวนรถไฟต่อกันนับสิบๆขบวนในวันออกพรรษาที่หนองคาย

สถานที่เฝ้าชม อ.สังคม เหนือสุดที่บ้านหนอง ต.บ้านม่วง และบ้านผาตั้ง อ.ศรีเชียงใหม่ ที่วัดหิน-หมากแป้งและบ้านโคกชวก ต.พระพุทธบาท อ.หนองคาย ที่บ้านสีกาย ต.สีกาย อ.โพนพิสัย บริเวณห้วยหลวงและกิ่ง อ.รัตนวาปี อ.ปากคาด ริมแม่น้ำโขงสนามสุขาภิบาล ต.นากั้ง ที่แก่งอาฮง อ.บึงกาฬ ต.หอคำ ที่แก่งอาฮงเป็นจุดสุดท้าย ซึ่งจะมีสีออกเขียวๆต่างกับที่อื่น ถ้าหากพักอยู่ที่จังหวัดหนองคาย หรืออุดรธานี แนะนำให้เฝ้าชมทางด้านอำเภอสังคมถึงศรีเชียงใหม่เพราะปริมาณรถยนต์จะน้อยกว่าและไม่ค่อยมีคนทราบมากนักโดยมากจะมุ่งมาชมที่อำเภอโพนพิสัย – ปากคาด แต่ถ้าพักอยู่จังหวัดสกลนคร ก็ควรมาเฝ้าชมที่แก่งอาฮงจุดเดียวเพื่อป้องกันปัญหาจราจรในวันออกพรรษานี้
ไม่ว่าจะเชื่อในมิติวัฒนธรรมหรือมิติวิทยาศาสตร์ของปรากฏการณ์ที่เรียกว่าบั้งไฟพญานาคก็ตามวันออกพรรษาปีนี้ทุกอำเภอดังกล่าวของจังหวัดหนองคายขอเชิญท้าพิสูจน์มหัศจรรย์แห่งแม่น้ำโขงนี้

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ26 เมษายน 2554 เวลา 13:04

    ใครเคยไปมาเล่าให้ฟังหน่อย

    ตอบลบ
  2. ต้านบั้งไฟพญานาคเทียม http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sompop&month=10-2011&date=14&group=5&gblog=63

    ตอบลบ